NUDIE JEANS



Nudie Jeans & co นั้นเป็นเเบรนด์จากประเทศสวีเดน ก่อตั้งเมื่อปี 1999 โดย Maria Erixsson ซึ่งเคยเป็นพนักงานของLee Europe.ในปี 2003 บริษัทมีพนักงาน 12คน เเต่ว่ามีรายใด้ถึง 93 ล้านโครนา(หน่วยเงินตราสวีเดน) เเละมีรายใด้สุทธิที่ 13.6 ล้านโครนา.70% ของรายใด้นั้นมาจากนอกประเทศสวีเดน เเละถือเป็นการเติบโตอย่างเร้วมากในระยะเวลา 3ปี ภายในปี 2004 รายใด้สุทธินั้นใด้เพิ่มอีก 70%  Nudie นั้นโด่งดังในเรื่องการใส่ยีนส์ผ้าดิบโดยไม่ทำการซัก เพื่อที่ยีนส์นั้นจะใด้เกิดริ้วรอยการเฟตของผู้ใส่จากชีวิตประจำวัน

ตอนนี้ Nudie นั้นมีจำหน่ายทั้งหมด 15 ทรง เเละ มี11ทรงที่เลิกผลิตไปเเล้ว
ด้านล่างนี้คือทรงที่ยังจำหน่ายอยู่ทั้ง 15 ทรง: 
ทรงเดฟ 
Boot Starcy / High Kai / Thin Finn / Tight Long John / Tube Kelly/ Tape Ted

ทรงกระบอกเล็ก
slim / Grim Tim / Slim Jim / Average Joe/ Hank Rey

ทรงกระบอก / กระบอกใหญ่
(Sharp Bengt) / Fast Freddy / Easy Emil / Slacker Jack / Regular Alf

1. Average Joe ขากระบอกตรง ความสูงเอวปกติ เป็นกระดุม ทรงนี้เป็นทรงที่คลาสสิกของยีนส์
2. Sharp Bengt ทรงกระบอก ใส่หลวมหน่อยๆ เอวสูง ชิ้นหลังชิดขอบเอว ปลายขาเรียวลงจากต้นขา เป็นกระดุม เนื่องจากชิ้นหลังชิดขอบเอว ทำให้กระเป๋าหลังยกขึ้นสูงขึ้น
3. Boot Starcy ทรงเดฟ เอวต่ำ ม้านิดๆ เป็นซิบ ทรงนี้จะเล็กที่ทั้งตัวเเต่ว่าปลายขาจะม้านิดๆ
ทำจากผ้าitalyซึ่งผสมผ้ายืด ทำให้ใส่สบาย
4. Easy Emil ทรงกระบอก ใส่หลวมๆ เอวสูง ส่วนหลังหลังเเคบ ขาตรง เป็นกระดุม
5. Fast Freddy ทรงใหญ่ เอวสูง เป้าปกติ ปลายขาใหญ่ เป็นกระดุม มีเเถบปรับเอวอยู่ที่ด้านหลัง
ทรงนี้เป็นทรงที่ใหญ่ที่สุดของ nudie
6. Grim Tim กระบอกเล็กถึ่งเดฟ เอวปกติ ขาตรง เป็นกระดุมฃ
7. High Kai เดฟมาก เอวสูง ปลายขาเเคบ เป็นซิบ ทรงนี้เป็นทรงที่เอวสูงมากเเละขาเดฟมาก
ผ้าที่ใช้นั้นเป็นผ้าItaly ผ้ามีส่วนผสมของผ้ายืดทำให้ใส่สบาย
8. Regular Alf ทรงกระบอก ขาม้านิดๆ เอวปกติ เป็นกระดุม
ทรงนี้นั้นสามารถลดไซส์ใด้เพื่อให้เป็นกระบอกเล็ก หรือว่าใส่หลุดๆให้ติดอยู่ที่สะโพก ทรงนี้ไม่ใช้ผ้าผสมยืด
9. Slacker Jack ทรงกระบอก เอวปกติ ปลายขาม้านิดๆ เป็นกระดุม ขานอกเป็นขาตรง จะม้านิดๆช่วงขาใน
10. Slim Jim ขากระบอกเล็ก ขาตรง เอวปกติ เป็นซิบ ทรงนี้เป็นทรงเเรกๆของทาง Nudie
จุดเด่นของทรงนี้คือขาตรง เเละเดินด้ายคู่ที่ขานอก
11. Thin Finn ทรงเดฟ ชิ้นหลังตก เอวปกติ ปลายขาเเคบ เป็นซิบทรงนี้เป็นทรงที่ฮิตในเมืองไทย
พอใส่ไปๆนานๆเเล้วกระเป๋าหลังจะตกลงมาเนื่องจากชิ้นหลังต่ำ
12. Tight Long John ทรงเดฟ เอวต่ำ ปลายขาเล็ก เป็นซิบ ทรงนี้เป็นทรงที่ใส่ใด้ทั้งชายเเละหญิงครับ
เป็นทรงเดฟเเต่ว่าใส่สบายเพราะผ้าผสมยืดครับ
13. Tube Kelly ทรงเดฟ เอวต่ำ ปลายขาเล็ก เป็นซิบ ทรงจะเหมือน tight long John เเต่ว่าปลายขาจะใหญ่กว่าหน่อยครับ
14. Tape Ted ทรงเดฟ ชิ้นหลังตก เอวปกติ ปลายขาแคบ เป็นซิป ทรงในช่วงเข่าขึ้นข้างบนจะคล้าย Thin Finn ส่วนหลังจากเข้าลง มาจะคล้าย Tight Long John แต่เป็าจะยาวกว่า Tight Long John
15. Hank Rey ขากระบอกตรง ชิ้นหลังตก ความสูงเอวปกติ เป็นกระดุม ทรงนี้จะเหมือน Average Joe แต่มาใหม่กว่า



ส่วนแบบ ผ้านั้นก้จะมีหลายแบบเช่นกันครับแต่ผมจะพูดถึงหลักๆนะครับ
1. Dry สีน้ำเงินธรรมดาๆครับ
2. Dry Greycast สีน้ำเงินออกเขียวคล้ำๆ จะออกแนวสนิมๆ
3. Dry Dirt Organic
4. Dry Japan ผ้าออกเขียวๆแต่สีตกเป็นสีน้ำเงิน
5. Dry Selvage สีน้ำเงินธรรมดาๆครับ แต่มีริม
6. Organic Dry Organic
7. Dry Black สีดำครับ
8. Dry Black Selvage สีดำออกๆเทา มีริม
9. Dry Black Coated สีดำใส่แล้วออกเงาๆเป็นมันๆ ใส่นานๆเหมือนหนัง
10. Dry Grey Coated สีเทาครับ ใส่แล้วออกเงาๆเป็นมันๆ
11. Ultra indigo Coated ตัวนี้จะ น้ำเงินเข้มออกดำๆเขียวๆ ใส่แล้วออกเงาๆเป็นมันๆ

อธิบายเพิ่มเติม
Dry = ผ้าดิบ
Selvage = มีริม
Coated = ใส่แล้วเป็นมันๆเงาๆ
Organic = วัสดุเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
Dry = ผ้าดิบ ใส่เเล้วขึ้นริ้วใด้ ลองอ่านดูนะครับ อันไหนที่เขียนว่า Dryคือผ้าดิบ
Wash = ผ้าฟอก ทำริ้วมาเเล้ว ปั้นริ้วใด้ เเต่ขึ้นช้า
Coated = เคลือบมันๆเงาๆ
Rinse = เเช่น้ำมาก่อนจากโรงงาน ผ้าจะนุ่ม
One wash = ซักมาจากโรงงาน ขึ้นริ้วต่อใด้
Organic = การผลิตยีนส์โดยที่ไม่ใช้สารเคมี เเละกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ

Mc jeans



ท่ามกลางยีนส์จากตะวันตกมีชื่อเสียงมาช้านาน แต่ก็ยังมีแบรนด์กางเกงยีนส์ของคนไทยเติบโตมาคู่คนไทยนับ 35 ปีแล้ว นั่นคือ "แม็คยีนส์" นั่นเอง สุณี เสรีภาณุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเค การ์เมนท์ (อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต) ผู้สานต่อแม็คยีนส์ในยุคแรกๆ กล่าวว่า แม็คยีนส์แตกไลน์มาจากธุรกิจซักอบรีดเสื้อผ้า "ซินไฉฮั้ว" และเริ่มก่อตั้งบริษัทผลิตกางเกงยีนส์แม็คแห่งแรกเมื่อปี 2533 รับเป็นทั้งผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้ายีนส์ พร้อมเครื่องประดับภายใต้แบรนด์ "แม็คยีนส์" ในปี 2546 ได้ก่อตั้งโรงงานที่ 2 ในนามบริษัท พีเค การ์เมนท์ 2 เพื่อผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยืด และแจ็กเกต ปี 2548 ได้ลงทุนระบบการฟอกยีนส์กว่า 80 ล้านบาท นำเข้าเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมเครื่องเลเซอร์ยิงลายยีนส์ที่ถือว่าเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทย ปัจจุบันแบรนด์ไทยแบรนด์นี้แตกออกอีก 4 แบรนด์ ได้แก่ Mc Jeans, Bison-Casual wear, Mc Lady-Ladies wear และ Kangaroo-Sport Casual wear นำไปจำหน่ายทางแถบเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ พม่า ลาว เวียดนาม เป็นต้น นำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละนับพันล้านบาท



Brand Mc jeans ปัจจัยที่ทำให้ Brand Mc jeans มีคุณค่าโดยอ้างอิงองค์ประกอบของ David A. Aaker

1.Brand name awareness

แบรนด์ "แม็ค" มาจากคำขึ้นต้นชื่อของผู้ชายชาวสกอตติช เป็นคำที่จดจำง่าย แต่ในประเทศเพื่อนบ้านจะเรียกแบรนด์นี้ว่า เอ็มซี ด้วยความที่เป็น "Mc" เหมือนจะเป็นแบรนด์ต่างชาติ แต่เป็นแบรนด์กางเกงยีน เสื้อผ้า รวมไปถึงกระเป๋า เข็มขัด ที่ดูมีระดับและมีความเป็นต้นฉบับสูงอยู่มานานถึง 35 ปี ถ้าต้องถามถึงแบบกางเกงยีนหรือแบรนด์ที่เกี่ยวกันยีน "Mc"ยังถูกเลือกและพูดถึงเป็นอันดับ 1 ใน 3 ของแบรนด์กางเกงยีน Shopของ MC เองเมื่อเห็นสัญญาลักษ์ก็รู้ได้เลยว่าเป็นกางเกงยีนของ แม็คยีน"Mc" และลายปักสัญลักษณ์ที่กระเป๋าหลัง กระดุม ป้ายที่แถบเอว หรือจะเป็นที่ซิบก็แสดงความเป็น"Mc"อย่างชัดเจนได้เลยทีเดียว


2.Brand Loyalty



วิวัฒนาการยีนส์ วิวัฒนาการของยีนส์ที่มีมายาวนาน ผนวกกับความเชื่อที่ว่ากางกางยีนส์ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กับผู้สวมใส่ดูทันสมัย จากอดีตถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องเนื้อผ้า สี และรูปทรงกางเกงย่อมเป็นไปตามยุคสมัย ความพยายามในการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและชูความแตกต่างเหนือคู่แข่งเพื่อรักษาความทันสมัยตลอดกาลนับเป็นข้อได้เปรียบทางการค้า ด้วยการจัดกลุ่มสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภคในทุกๆ กลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Original Classic ซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มแฟนพันธุ์แท้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นหลัก กลุ่ม Youth Trends ที่เน้นรูปแบบทันสมัยสำหรับคนทำงานที่มีอายุ 25-35 ปี และกลุ่ม Right Tack เน้นดีไซน์แฟชั่น มีความเก๋และเท่อยู่ในตัวด้วยป้ายหนังรูป 5 เหลี่ยม เกาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นอายุ 15-25 ปี Mc jeans ..ภาพลักษ์ของกางเกงยีนที่มีไสตร์ ที่ผู้ชายใส่ก็ดูเท่และ ผู้หญิงใส่ก็ ดูหมั้นใจ เปรี้ยวแบบตัวของตัวเอง แล้วยังเป็นกางเกงยีนที่รุ่นพ่อหรือแม่ได้สวมใส่กันตั้งแต่วัยรุ่นแล้วเราก็ยังได้เห็นมันอยู่ในตู้เสื้อผ้าที่บ้านอีก แถมเอถูกถามถึงคนที่มีก็สามารถพูดได้เต็มปากว่าซื้อมาตั้งแต่ สมัย ราคาก็เป็นตัวบ่งชี้ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ถึงจะแพงก็ต้องมีไว้ครอบครองสักตัวแล้วต้องมีเพิ่มอีกเรื่อยๆอีกด้วยเพราะ "Mc"เองก็ออกแบบไว้รองรับConsumerหลายรูปแบบเพื่อให้ตรงใจ แถมยังมีสั่งตัดพิเศษได้อีกด้วยคือสิ่งที่ลูกค้าบางกลุ่มต้องการถึงจะเป็นแค่เสื้อผ้าสั่งตัดแต่ก็ขอใด้เป็นส่วนของแบรนด์ Mc jeans เราจะไม่ค่อยเห็น Mc jeans ถูกทิ้งแบบไร้ค่า เพราะเมื่อ บรรดาพ่อแม่ที่มีไว้ครอบครองแส่ไม่ได้แล้วก็อยากให้ลูกหลานได้นำไปใส่ด้วยความภูมิใจ เพราะบางครอบครัวที่เห็นก็จะใส่กันทั้งบ้าน และต้องเห็นสัญลักษณ์อย่างชัดๆ แต่ในปัจจุบันลูกค้าที่เห็นชัดของ Mc คือ วัยรุ่นเป็นส่วยใหญ่เนื่องด้วย มีพรีเซนเตอร์ที่วัยรุ่นชื่นชอบสวมใส่ และคนกลุ่มนี้ก็จะสังเกตูการแต่งการไปจนถึงการลอกเลียนแบบและทำตามบางคนพอได้ทำตามก็มีประสบการณ์ร่วมรู้ส฿กดี จนทำให้ Mcจัดกิจกรรมมากมายเช่นการประกวด Mc supermodel ผู้คนที่ชื่นชอบก็จะให้ความสนใจ 3.Perceived Quality ทางด้าน Mc jeans แสดงให้ consumer เห็นถึงความแตกต่างของ Mc jeans กับยีนส์ทั่วไป โดยการทำยีนส์ที่มีสีแตกต่างไปจากยีนส์ปกติ มีสีที่เข้มขึ้น และการตัดเย็บมีลวดลายเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นที่ กระเป๋าหลัง กระดุม ซิบ ทรงหรือแบบของยีนส์แต่ละรุ่น ถือได้ว่าเป็นการฉีกกฏของตลาดเสื้อผ้ายีนส์ที่ทำให้ Mc jeans โดดเด่นขึ้นมา เป็นผุ้นำยีนส์สีเข้ม และพรีเซ้นสินค้าว่า "ยิ่งใส่นานยิ่งสวย" 4.Brand Association Mc jeans มีการสื่อสารหลายรูปแบบทั้งการจัดแฟชั่นโชว์ เดินแบบ



เข้าไปเป็นผู้สนันสนุนในรายการโทรทัศน์ หรือเกมส์โชว์ชื่อดัง เช่น Academy Fantasia



จัดประกวด Mc Jeans Supermodel



ใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นดารา นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียง ให้เข้ากับบุคลิกของ consumer หลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป



แบรนด์เสื้อผ้าจะเป็นแบรนด์ที่ถูกเรียนแบบมากที่สุด แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือตัวสินค้า และความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ สิ่งที่ Mc jeans แสดงออก ไม่ใช่เป็นเพียงตัวหนังสือเอ็มซีเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์ร่วมที่ผู้บริโภคได้สวมใส่และมีผลิตภัณฑ์ Mc jeans ไว้ครอบครอง ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจที่จะใช้ Mc jeans ที่เป็นของแท้และมีคุณภาพ ทางด้านกฏหมายได้มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสิทธิประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับอย่างเต็มที่ และผู้ผลิตมีแรงผลักดันที่จะสร้างสินค้าที่มีคุณภาพต่อไป ตามที่ผู้บริโภคให้ความคาดหวังและเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน "ตอนนี้เราเป็นแฟชั่นมากขึ้น เจาะกลุ่มวัยรุ่นทั้งหมด เครื่องประดับ รองเท้าผ้าใบ เราทำครอบคลุมหมด ประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีชีวิตที่เรียบง่าย แต่งตัวง่ายๆ จึงเหมาะกับกางเกงยีนส์ ส่วนใหญ่เราจะผลิตออกแบบให้เหมาะกับคนไทย ลูกค้าชอบกางเกงยีนส์ทรงไหน เน้นรูปร่างตรงส่วนไหน การทำแพตเทิร์นเราจะออกแบบทำยังไงให้เขาสวมใส่แล้วสบาย ในขณะเดียวกันก็หุ่นดี คุณภาพเนื้อผ้าก็ต้องดี ยิ่งใส่นานยิ่งสวย" แรงผลักดันที่ทำให้แบรนด์ไทยมีชื่อเสียง คือ คนไทยทำแบรนด์ไทยเพราะเข้าใจคนไทยด้วยกัน และชาวต่างชาติมีความชื่นชอบในความเป็นไทย ด้วยความที่เรียบง่ายจึงเป็นที่ยอมรับของประเทศเพื่อนบ้าน และชาวต่างชาติจนไปถึงแบรนด์ Mc ได้ถูกพรีเซน โดยใช้ผลิตภัณฑ์ของ Mc ให้ดารา นักแสดง สวมใส่ซึ่งแสดงได้ถึงความมั่นใจในตัวสินค้า และเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มใหญ่ จึงทำให้แบรนด์ Mc คิดที่จะพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ consumer ที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคกระแสสังคม

Levi’s jeans



ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ชาวเยอรมัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในยุคตื่นทอง เมื่อปี ๕.ศ.1850 ซึ่งทุกคนต่างมุ่งหน้าไปขุดทองที่เหมืองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สเตราส์เดินทางไปที่นั่นเช่นกัน เขาไปเพื่อขายของ ซึ่งของที่นำไปขายได้ขายหมดระหว่างทาง เหลือเพียงผ้าเต็นท์เท่านั้น เมื่อไปถึงเหมือง ชาวเหมืองคนหนึ่งบอกให้เขาหากางเกงที่ทนทานมาขายบ้าง เพราะกางเกงคนขุดเหมืองขาดง่าย คำพูดนี้จุดประกายความคิดให้สเตราส์ทันที เขาจึงนำเอาผ้าเต็นท์มาให้ช่างตัดเป็นเสื้อและกางเกง แล้วนำออกขาย ปรากฏว่าขายดีอย่างนึกไม่ถึงจนผ้าเต็นท์หมดในไม่ช้าสเตราส์จึงสั่งผ้าใบเรือมาตัดเสื้อผ้า ในขณะที่ผ้าเต็นท์ขาดตลาด เขาสั่งผ้าหนาอีกหลายชนิดมาจากนิวยอร์ก และนำมาย้อมเป็นสีน้ำเงินคราม อันเป็นสัญลักษณ์ของเสื้อผ้ากรรมกร

ปี ค.ศ.1860 ช่างตัดเสื้อชื่อ นายจาคอบ เดวิส (Jacob Davis) จากรัฐเนวาดาได้ตอกหมุดตามมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมือง เพื่อให้บริเวณนั้นที่มักขาดเสมอแข็งแรงขึ้น สเตราส์นำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับกางเกงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาของเขาและตั้งชื่อว่า “ลีวาย” (Levi’s) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 สเตราส์ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้น ถือเป็นวันกำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายที่นิยมใช้ทั่วโลกขณะนี้




ยุคสมัย ลีวายส์ 1870 - 1879ผืนผ้าเดนิมถูกเปลี่ยนตั้งแต่ ค.ศ.1860 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เริ่มใช้คำว่า XX เมื่อ ปี ค.ศ.1870 หมายถึงเป็นผ้าเฮฟวี่เดนิม ที่มีคุณภาพดี โดยมีน้ำหนักเป็นพิเศษ ลีวาย สเตราสส์ และ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันจดทะเบียนหมุดโลหะ คอปเปอร์ ริเว็ตเต็ด เมื่อ ค.ศ.1873 ต่อมาได้ทำการผลิตเดนิม ยีนส์ กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม XX เกิดขึ้นมามีรูปแบบ 3 กระเป๋า จะสังเกตได้ ที่ด้านหลังมีกระเป๋าหลังด้านขวากระเป๋าเดียว รุ่นแรกๆ นี้จะเรียกว่ากางเกงโอเวอร์ออลล์ส1880 - 1889 ได้ใช้ป้ายหนังแท้ มาทำป้ายหลังในปี ค.ศ.1886 ในยุคสมัยนี้ยังคงเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ดับเบิ้ลเอ็กซ์




1890 - 1899 ใช้คำว่า 501 คือเลขส่งมอบผืนผ้าจากโรงงานอะมอสเคียง แมนูแฟคเตอริ่ง คัมปานี ส่งยังลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เมื่อปี

ค.ศ.1890 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ไฟว์ โอ วัน ดับเบิ้ลเอ็กซ์ เย็บกระเป๋าใบที่ 4 คือกระเป๋าวอช พ๊อคเกต ในปี ค.ศ.1890

1900 - 1909 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เย็บกระเป๋าหลัง เมื่อปี ค.ศ.1902 ทำให้เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์สที่มีกระเป๋าครบ 5 กระเป๋า เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ที่สมบูรณ์แบบ ผลิตรุ่น 502 มีผลิตรุ่น 201 หรือกางเกงรุ่นนัมเบอร์ 2 ผลิตของเด็กชาย เป็นรุ่น 503 ก่อนแตกหน่อออกไปอีกเป็น 503 A, และ 503 Bซึ่งเป็นของเด็กโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น รุ่น 503 ผลิตยาวถึงยุค1960s จะเป็นรุ่น 503 Z
1910 - 1919 กางเกงโอเวอร์ออลล์สเดนิม 501 XX ยังมีการผลิตรุ่น 502 รุ่น 201 ผลิตรุ่น 503 และรุ่น 333 NO.3

1920 - 1929 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ได้เย็บหูกางเกงในยุคนี้ และได้ผลิตรุ่น 201 ไปอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค 1940

1930 - 1939 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX สมบูรณ์ แบบ มีหูสำหรับร้อยสายเข็มขัด มีซินช์แบ็ค เบลท์ ไว้ปรับให้กระชับในกรณีไม่ใช้สายเข็มขัด ในยุคนี้เป็นยุคที่ยกเลิกหมุดโลหะซ้าย-ขวาของกระเป๋าหลังด้านใน เปลี่ยนเป็นเย็บกระเป๋าหลังครอบคลุมไว้และเย็บแท็กกิ้งทับอีกชั้นหนึ่ง หมุดโลหะเรียกว่าคอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ นอกจากนี้ มีการใช้ป้ายเรดแท็บ และได้จดทะเบียนป้ายไว้เเล้ว จากนั้นได้ผลิตกางเกงผู้หญิง เลดี้ ลีวายส์ เวสเทิร์น โอเวอร์ออลล์ส โดยใช้ผ้าซานฟอไรเซ็ด เป็น 701 ของผู้หญิงจะมีทั้งเสื้อเบลาซส์ สำหรับใส่ไปท่องเที่ยวในยุคดู๊ดแรนช์ (Dude Ranch) และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปถึงยุค 1950s และ 1960sมีเป็นรุ่น Lot 401 Lady Levi’s ได้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิง มีขนาดเอวตั้งแต่ 25 นิ้ว ถึง 33 นิ้ว และผลิตกางเกงผู้หญิงตามแบบฉบับสำหรับใส่ขี่ม้า เป็นรุ่นR 528 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม ฟร้อนเทียร์ส Ladie’s Sanforized Denim Frontiers (ตัว R หมายถึง Riding) กับผลิตเสื้อผู้หญิง เพื่อสวมเข้าชุดกัน รุ่น RJ 92เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม แจ๊คเกต (Ladie’s Sanforized Jacket)

1940 - 1949 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX มี รุ่นผลิตอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1942 จนถึง ค.ศ.1944 ทางลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส ที่เขาผลิตว่าเป็นรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 บางที่อาจจะใช้คำว่า World War 2 เป็นรุ่น 501 XX, S 501 XX

1950 - 1959 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ถือ ได้ว่าเป็นที่สุดยอดอีกครั้งหนึ่งของลีวายส์ เพราะผ่านการผลิตมาแต่ละยุคสมัยจนลงตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์ของอเมริกา ภายหลังมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาราฮอลลีวู้ด นักร้องร็อกแอนด์โรล ใครๆ ที่เป็นคนสำคัญในวงสังคมอเมริกัน และของโลกต่างหันมาสนใจในผืนผ้าเดนิม มีการเปลี่ยนแปลงป้ายหลัง จากป้ายหนังแท้ มาเป็นป้ายกระดาษปะเก็น ประเดิมรุ่นที่คำว่า Every Garment Guaranteed Lot 501 XX

1960 - 1969 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ได้ผลิตกางเกงเดนิม 501 อยู่ระหว่างคาบเกี่ยวจะเปลี่ยนไปเป็นกางเกงยีนส์ 501 โดยมีการแสดงเกรดของผ้า โดยใช้ตัวอักษร A, S, F อยู่บนตัวเลขหมายรหัส 501 ของป้ายหลังที่เป็นกระดาษปะเก็น ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เคยเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX และได้เปลี่ยนจากคำว่าเดนิม มาเป็นคำว่ายีนส์ (Jeans) ในยุคนี้ และมีการผลิตยีนส์ ลีวายส์สีขาวขึ้นมา มีการผลิตรุ่น 505 โดยเป็นรุ่นที่ใช้ซิปแทนกระดุม ยุคนี้ได้ผลิตผ้าShrunk to Fit มาทำเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 0115 ผืนผ้านี้จะไม่มีการหดตัว

1970 - 1979 กางเกงยีนส์ 501 XX เปลี่ยนป้ายเรดแท็บ จากที่เคยมีตัวอีใหญ่ (E) มาเป็นตัวอีเล็ก (e) 501รุ่นจากนี้ไปจึงติดป้ายเรดแท็บที่มีคำว่า Levi’s ให้ สังเกต ตัวอี นี่เริ่มเป็นจุด ข้อแบ่งแยกป้าย เมื่อคนที่หากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่เป็นรุ่นที่แตกต่างกันระหว่างบิ๊กอี และไม่ใช่ จึงทำให้กางเกงที่มีป้ายบิ๊กอีมีราคา



1980 - 1989 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้กลายมาเป็นรุ่น 501 0000 เลขหมาย 0000 เป็นรหัสแทน XX และได้กลับมาเป็น 501 xx พิมพ์ตัวดำ ตัวเอ็กซ์ 2 ตัว จะเล็กเกือบครึ่งของตัวเลข แล้วก็ได้กลายมาเป็น 501 ตัวใหญ่พิมพ์ สีแดง
1990 - 1999 กางเกงยีนส์ 501 XX ยังมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้ได้ออกลีวายส์ วินเทจ คล็อทธิ่ง ดังได้เขียนบอกกล่าวมาข้างต้น



2000 - 2009 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้ผลิตไปตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.2000 นิตยสารไทม์ ได้เขียนถึงกางเกงยีนส์ 501 Jeans ลงบทความที่มีชื่อว่า “The Clothing Piece of The 20 th Century” เครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ในยุคนี้ได้ผลิตกางเกงลีวายส์ Engineered Jeansผลิต ขึ้นมาเพื่อคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ร่วมยุคปี 2000 มาถึง ลีวายส์ เอนจิเนียเร็ด เพื่อการสวมใส่สำหรับทุกกิจกรรมที่คุณสนใจ ต่อมาได้มีการผลิตกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุดLevi’ sจ Type 1TM Jeans มาเขย่าตลาดแฟชั่นอย่างต่อเนื่อง สินค้าในยุคครบรอบ 150 ปี คอลเลคชั่นใหม่ 501 Celebration Jeans คือ Levi’s Nevada Jeans, Levi’s Red Tab Jeans, Levi’s Engineered Jeans และ Levi’s Vintage Clothing








Lee jeans


ณ เวลานี้คำว่า “กางเกงยีนส์” ได้เดินทางมาถึงจุดที่มีผู้ผลิตก้าวเข้ามาเล่นในตลาดจากทั่วทุกมุมโลก ทั้งจากประเทศต้นฉบับอย่างอเมริกาหรือถ้าเป็นฝั่งเอเชียก็มีประเทศญี่ปุ่นเป็นแกนนำ รวมๆแล้วมีแบรนด์ยีนส์เกิดใหม่ออกมามากมายแทบจำชืกันไม่หมด แต่ถ้าเมื่อไรที่มีคนพูดถึงชื่อ “Lee” พวกเขาคือหนึ่งในแบรนด์เดนิมชั้นนำระดับโลกที่อยู่ใน Top 5 ยีนส์ได้รับความนิยมโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าเผื่อคนที่เคยใส่ Lee มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้เรื่องราวของพวกเขามาก่อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Lee ผ่านไทม์ไลน์ช่วงเวลาต่างๆในประวัติศาสตร์เกิน 100 ปี ของพวกเขากัน




ปี 1889
นายเฮนรี่ เดวิด ลี (Henry David Lee) ในวัยอายุ 40 ปี ได้ก่อตั้ง ‘H.D. Lee Mercantile Company’ ขึ้นในเมือง Salina รัฐ Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ Lee ตอนนั้นไม่ใช่กางเกงยีนส์แต่อย่างใด ร้าน Lee คือร้านขายของชำขนาดใหญ่ (Mercantile)ที่เห็นได้เป็นปกติทั่วในอเมริกาสมัยนั้น ด้วยความตั้งใจของ Lee ภายในเวลาไม่ถึง 20 ปี ร้านได้กลายเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ หนังสือพิมพ์ถึงกับลงข่าวว่า “H.D. Lee คือชื่อที่ติดอยู่ในทุกปากของผู้คนแคนซัส และสินค้าของเขาก็อยู่บนชั้นวางของทุกครัวเรือน”

ปี 1910’s
ในช่วง 10 ปีนี้ หลังจากที่ร้าน Mercantile ของ H.D. Lee ได้กลายเป็นร้านขายของชื่อดังครองใจผู้คนในรัฐไปแล้ว เขาขยับมาต่อที่เรื่องของเสื้อผ้าที่ผู้คนใช้ใส่ทำงานกันบ้าง ริเริ่มผลิตชุดเอี๊ยม “Bib Overall” แต่ยังไม่ฮิตติดตลาด จนมาถึงตอนที่ “Union-All” ชุดที่เย็บติดระหว่างแจ๊คเกตและกางเกงยีนส์ถูกนำเข้าตลาด (บ้านเราบางคนอาจจะเรียกชุดหมี ชุดช็อป ชุดช่าง Jumpsuit หรืออะไรก็แล้วแต่) ไม่นานไอเทมเดนิมทั้งสองชิ้นได้ครองใจผู้คนและกลายเป็นยูนิฟอร์มของคนทำงานช่างไปเลย โอกาสนี้ Lee จึงตัดสินใจเปิดแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเอง โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือเป็นผู้ผลิตกางเกงยีนส์และแจ๊คเก็ตยีนส์โดยเฉพาะ (จวบจนถึงปัจจุบันชุดเอี๊ยมและชุดหมีของ Lee ก็ยังคงความเอกลักษณ์ประจำของแบรนด์)





ปี 1920’s
ธุรกิจเสื้อผ้าของ Lee กำลังไปได้สวย พวกเขามีโรงงานผลิตของตัวเอง และขยายสาขารวมถึงมีโกดังเก็บของอยู่ที่ San Francisco และ Los Angeles จะบอกว่ายุค 20’s คือช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์ Lee พัฒนาแบบก้าวกระโดดก็คงไม่ผิด เริ่มจากการเปิดตัวตุ๊กตาเด็กผู้ชายหน้าหวาน แต่งตัวแบบคาวบอย “Buddy Lee” (คนเก็บของวินเทจคงรู้จักกันดี) มาเป็นมาสค๊อตใช้เพื่อการโฆษณาของพวกเขา ถิอเป็นเจ้าแรกๆเลยก็ว่าได้ที่มีการนำตัวละครสมมุติมาใช้พูดในแบรนด์เสื้อผ้า (ในช่วงยุค 90’s Buddy Lee ยังถูกนำกลับมาเป็นโฆษณาชุดดังที่นำเสนอไอเดียว่ากางเกง Lee ใส่ทนซะจนตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ใครเกิดยุคนั้นน่าจะเคยเห็นกัน) ในปี 1924 Lee เปิดตัว “101 Jeans” กางเกงยีนส์ที่พวกเขากล้าออกปากเลยว่าเป็น “ยีนส์สำหรับคาวบอย” เป็นกางเกงยีนส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และตอกย้ำด้วยคิดค้นการใส่ซิปลงในกางเกงยีนส์ (เป็นเจ้าแรก) ใช้ชื่อว่า “WHIZ IT” ทำให้คนใส่รู้สึกสบาย ถอดเข้าถอดออกก็ง่าย Lee เลยได้เครดิตจากฟังก์ชั่นนี้ไปเต็มๆ แต่น่าเสียดายที่ในปี 1928 นาย H.D. Lee ก็ได้เสียชีวิตลงจากโรคหัวใจ


ปี 1930’s
ถึงแม้ H.D. Lee จะจากไป แต่แบรนด์ Lee ไม่ได้หยุดตัวลงแต่อย่างใด (หลานเขยเข้ามาคุมงานต่อ) พวกเขาขยับตัวต่อด้วยการผลิตกางเกงรุ่น Rider Pants ที่ทำให้เข้าถึงตลาดในซาน ฟรานซิสโกมากขึ้น เป้าหมายก็ยังคงเป็นบรรดาคาวบอยทั้งหลาย และเริ่มผลิตป้าย “Hair-on-Hide” ป้ายขนที่สามารถสอดเข็มขัดได้เป็นเอกลักษณ์ของ Lee ที่คนใส่ยีนส์ทุกคนรู้จักกันดี เป็นครั้งแรก





ปี 1940’s
Lee เดินทางมาถึงจุดที่พวกเขาเชื่อว่าเสื้อผ้าของแบรนด์ไปได้สวย และตัดสินใจยกเลิกธุรกิจร้านขายของชำที่เป็นต้นกำเนิดของแบรนด์ออกไป กลับมาที่เรื่องของเสื้อผ้า นี่คือช่วงแรกที่กางเกงยีนส์ Lee มีสัญลักษณ์ “Lazy S” ปรากฎอยู่บนกระเป๋า (การเดินด้ายบนกระเป๋าหลังทั้ง 2 ข้าง มองแล้วคล้ายการ์ตูน “Long Horn”) แน่นอนว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ Lee ต้องขยับตัวด้วยเหมือนกัน จากที่เคยผลิตเสื้อผ้าสำหรับคนทำงาน เมื่อประเทศมีสงคราม “คนทำงาน” กลายมาเป็นบรรดาแม่บ้านผู้หญิงทั้งหลาย Lee จึงคิดค้นรุ่น “Lady Lee Riders” กางเกงยีนส์ที่ขึ้นชื่อว่า Fitting ได้สวยเข้ากับสรีระผู้หญิงที่สุดในเวลานั้น


ปี 1950’s
เอาล่ะ มาถึงยุค Baby Boomer หลังสงครามโลกกันแล้ว นี่คือช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์ของหลายๆแบรนด์กำลังจะเข้ามามีบทบาทครั้งใหญ่ในโลกของแฟชั่น ซึ่ง Lee เองก็แสดงตัวตนออกมาได้อย่างสวยงาม เมื่อไอคอนของ Hollywood อย่าง เจมส์ ดีน หยิบเอากางเกงยีนส์ Lee มาใส่ให้คนเห็นกัน ในภาพยนตร์เรื่องดัง “Giant” และ “Rebel Without a Cause” เป็นจุดเริ่มต้นการแต่งกายแบบ Biker Style นักบิด แสดงความแหกคอกและตัวตนแบบเด็กมีปัญหา (ถึงขั้นบางโรงเรียนในอเมริกาห้ามใส่ยีนส์กันเลยทีเดียว) แต่นั่นยิ่งทำให้ยีนส์ Lee กลายเป็นไอเทมหลัก ประมาณว่าถ้าอยากเท่ต้องหามาใส่ พร้อมทั้งเปิดตลาดชุดลำลองด้วยการเล่นคำ “Leesures” มีคอนเซปต์หลักที่เป็นวลีติดหูกันดี “Work & Play” ทำให้เข้าถึงตลาดได้กว้างมากขึ้น





ปี 1960’s
จากการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมที่ชัดเจนอย่าง Baby Boomer โลกแฟชั่นเคลื่อนตัวไปแบบเปลี่ยนยุคต่อยุค ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์เป็นของที่วัยรุ่นทุกคนเริ่มให้ความสนใจ ในแง่ธุรกิจ Lee กำลังเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขามีโรงงานอยู่ทั่วอเมริกา และเริ่มขยับขยายไปต่างประเทศ (ที่แรกคือประเทศเบลเยี่ยม) จนเมื่อ Lee ตัดสินใจร่วมมือกับเครือใหญ่อย่าง VF Corp., พวกเขาก็เข้าถึงตลาดโลกได้มากขึ้น (กว่า 50 ประเทศทั่วโลก)


ปี 1980’s
ลากยาวมาจนถึงยุค 80’s บัดนี้ Lee คือแบรนด์ยีนส์ที่ติดตลาดทั่วโลกเรียบร้อยแล้ว และการมาถึงของคอมพิวเตอร์ ก็มีบทบาทกับ Lee ไม่น้อย ทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพทางการผลิตที่สูงกว่าเดิม


ปี 2000’s
จากช่วงปี 90’s เมื่อ Lee ย้ายมาที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (นี่คงเป็นช่วงเวลาที่บ้านเราเริ่มมี Ad และแคมเปญต่างๆของ Lee ออกมาให้เห็นกัน) และกลายมาเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีบทบาทสำคัญที่ในมิภาคนี้ พร้อมกับการเปิดตัวแฟลกชิพสโตร์แห่งแรกในทวีปเอเชีย ย่าน Causeway Bay (ฮ่องกง) ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หลงใหลเดนิมในภูมิภาคนี้ ได้มาสัมผัสกับโลกแห่งความพิเศษสุดที่ยีนส์ Lee ภูมิใจนำเสนอ





ปี 2014
ไล่มาตั้งนาน นี่มันปีปัจจุบันแล้วนี่! 2014 ถือเป็นปีสำคัญของแบรนด์ Lee กับการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปี จากการสั่งสมจิตวิญญาณที่เต็มไปด้วยความหลงใหลใคร่รู้ที่มีให้กับกางเกงยีนส์ของพวกเขา ในทุกวันนี้ Lee ยังคงมี Movement ใหม่ๆออกมาอยู่เสมอๆ นอกจากไลน์การผลิตเกรด Premium ที่ชื่อ “Lee 101” เจาะตลาดกลุ่มบน หรือจะเป็นงาน Collaboration อันน่าตื่นตาตื่นใจ ล่าสุดนี้ก็จับมือกับเจ้าพ่อดีไซน์เนอร์ฝั่งสตรีทอย่าง “Nigo” (เจ้าของ A Bathing Ape) ทั้งหมดนี้คือบทสรุปที่เรากล้าพูดได้เลยว่า Lee คือหนึ่งในแบรนด์ยีนส์ที่ทั่วโลกยอมรับเป็นอันดับต้นๆ และยังไม่หยุดที่จะพัฒนาตำนานบทนี้ไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

IRON HEART




ย้อนไปถึงบ้านเราในยุคเก่าในยุคยีนส์ลีวายส์ครองเมืองดูเหมือนเป็นอะไรที่เล่นง่ายไม่กว้าง ยีนส์ตัวเก่งของนักเล่นยีนส์ทั้งหลายคงหนีไม่พ้นยีนส์ฟอก 501 ริมแดง หรือแพงหน่อยก็ Big-E และถ้ามีเวลามากหน่อยก็สามารถหาตัวตะเข็บงามๆที่ขึ้นเต็มทั้งซ้ายและขวาเท่านั้นเป็นอันหล่อและจบ แต่ในยุคปัจจุบันอะไรก็เปลี่ยนไปรายละเอียดและข้อแม้ในการเลือกซื้อมีเยอะขึ้นมาก จริงๆแล้วถือเป็นข้อดีของผู้ซื้อนะเพราะสามารถเลือกยีนส์ที่เข้ากับเราได้มากที่สุด น้องๆวัยรุ่นสมัยนี้เองก็มีความรู้พื้นฐานเรื่องยีนส์มากขึ้นด้วย น้องๆหลายคนที่ผมรู้จักเวลามาพูดคุยเรื่องยีนส์กับผมมักเปิดประเด็นด้วยเรื่องออนซ์ตามด้วยผ้าจากประเทศไหน? สองสิ่งนี้ผมเองจัดเป็นเรื่องสำคัญแรกๆของการเลือกซื้อยีนส์เลยครับ เพราะออนซ์จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความหนาของเนื้อผ้าซึ่งความสบายในการสวมใส่ของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ส่วนประเทศผลิตผ้าหรือผู้ปลูกฝ้ายจะบ่งบอกถึงเรื่องของการสัมผัสและระยะการใช้งาน และซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องผ้ายทอยีนส์ดังๆก็ต้องยกให้ประเทศซิมบับเว ญี่ปุ่น และแอฟริกาเค้าล่ะครับ สามประเทศนี้ถือว่าเป็นผู้ส่งออกฝ้ายรายใหญ่ๆที่มีคุณภาพเลยล่ะ

รีวิวนี้เราจะมาดูเจ้ายีนส์แบรนด์ Iron Heart กัน แต่ก่อนอื่นมาดูประวัติเล็กๆน้อยๆของแบรนด์นี้กันก่อน Iron Heart เป็นยีนส์แบรนด์สัญญาตญี่ปุ่นและยีนส์ทุกตัวถูกตัดเย็บในประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น Iron Heart เป็นแบรนด์ที่มีแรงบันดาลใจมาจาก Boss ใหญ่และเจ้าของแบรนด์นาม ชินนิจิ ฮารากิ (Shinichi Haraki) ผู้ชื่นชอบการขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ เริ่มแรกก็เหมือนยีนส์แบรนด์ดังอื่นๆของประเทศญี่ปุ่นครับที่มักจะมีการขายอยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้นจนกระทั้งนาย กิลล์ แพทมอร์ (Giles Padmore) ได้มารู้จักและได้นัดพบเจอกับ ชินนิจิ ฮารากิ ที่ลอสแอนเจลิส และต่อมาก็ได้เป็นดิสทริบิวชั่นของแบรนด์ Iron Heart ที่นำพาแบรนด์นี้ออกจากญี่ปุ่นสู่สายตาชาวโลกจนเป็นที่รู้จัก



ยีนส์แบรนด์ Iron Heart จะขึ้นชื่อเรื่องความ “หนา” และ “ทน” เพราะผ้าในรุ่นต่างๆส่วนใหญ่จะเน้นใช้ผ้า 21ออนซ์ ในขณะที่แบรนด์ผ้าดิบทั่วๆไปจะอยู่แถวๆ 13.5 ถึง 15ออนซ์กว่าๆจะมากสุดก็17ออนซ์ (จริงๆแล้วทาง Iron Heart ก็มีรุ่นที่ใช้ผ้า 13-16-17-18-22 และ 25ออนซ์ขายเหมือนกันนะครับ) ผ้าที่ใช้ตัดเย็บ Iron Heart ถูกนำเข้าจากแหล่งดังและเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลูกฝ้ายดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับซึ่งก็คือประเทศซิมบับเว ตามคำกล่าวที่ว่าไว้ว่าฝ้ายจากซิมบับเวนั้นทอได้ยาวกว่าและมีความนุ่มมาก ซึ่งเป็นเพราะการเก็บเกี่ยวจากมือล้วนๆด้วยแรงงานโดยปราศจากเครื่องจักร ด้วยวิธีนั้นจึงทำให้เกิดการเจือปนได้น้อยมากจากสิ่งรอบข้างและตัวฝ้ายเองก็สมบูรณ์มากคือไม่มีการฉีกขาดเหมือนการเกี่ยวด้วยเครื่องจักร และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ยีนส์หนาๆอย่างเจ้า Iron Heart นั้นสามารถใส่ได้อย่างสบายจนหน้าแปลกใจ



ล่าสุดทางร้าน Pronto ได้นำเข้ายีนส์แบรนด์นี้เข้ามาจำหน่ายครับ โดยประเดิมด้วย 2รุ่นคือ

1. IS-666S เป็นทรงเล็กที่เรียกตามศัพท์สากลได้ว่า “Super Slim Tapered”
ตัวยีนส์ใช้ผ้า 18ออนซ์ Raw Unsanforised และเป็นผ้าริม

2. IHXB01XRAW เป็นทรงขากระบอกเล็กตามศัพท์สากลว่า “Slim Tapered”
ตัวยีนส์ใช้ผ้า 18ออนซ์ Raw Selvage



กล่าวถึงผ้าจำพวก Unsanforised ก็ต้องขออนุญาตอธิบายก่อนสักนิดเผื่อกรณีเพื่อนๆน้องๆบางคนอาจไม่รู้จัก ผ้า “Unsanforised”ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ คือผ้าที่ควรแช่น้ำก่อนสวมใส่เพราะมันยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการทำให้หดจากโรงงานมา ดังนั้นควรแช่เพื่อให้ได้ทรงที่ควรจะเป็น คือตัวยีนส์มันจะหดเล็กลงเช่นในช่วงเอวอาจหดลงได้ถึง 1-1.5นิ้ว ซึ่งเราเองก็สามารถเลือกหดมากหดน้อยได้โดยการเลือกแช่ด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็น คือถ้าแช่ด้วยน้ำร้อนจะหดมากและน้ำเย็นหดน้อยครับ

เพื่อให้เห็นภาพเจ้า Iron Heart Denim ได้ดีขึ้นผมจึงขอในภาพบางส่วนมาให้ชมกันโดยภาพส่วนมากจะมาจากตัว IS-666S ครับ



ทั้งสองรุ่นใช้กระดุม4เม็ดครับ และมีการปั้มนูนคำว่า “IRON HEART WORKS INC,” ไว้ที่ตัวบน และใช้แบบหน้าเรียบสำหรับ3ตัวที่เหลือ และในส่วนผ้าด้านหลังบริเวณกระดุมนี้มีการใช้ผ้าริมแดงเย็บประกบด้วย



หมุดยึดต่างๆเป็นสีทองเหลืองตามลักษณะสากล และมีการปั้มคำว่า “IRON HEART WORKS INC,” ไว้ด้วยเช่นกัน ส่วนบริเวณหูสอดเข็มขัดใช้การพับเย็บให้ขึ้นนูนเวลา ซึ่งเฟดมันจะสวยครับและยังสามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของตัวด้ายที่เย็บได้ด้วย



บริเวณด้านในของช่องเก็บเศษเหรียญหรือไฟเช็ค (สำหรับผม) ใช้ผ้าริมเย็บประกบ ถ้ามองจากด้วยในถึงจะรู้ครับ



อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ชื่อของแบรนด์สำหรับยีนส์แบรนด์ต่างๆก็คือลายที่ประเป๋าหลังครับ สำหรับ Iron Heart นั้นก็เป็นอะไรที่เรียบง่ายและดูดีที่เดียว



ทั้งรุ่น IS-666S และ IHXB01XRAW ต่างใช้ผ้าริมแดง 18ออนซ์ และได้ใช้การเย็บแบบลูกโซ่ในส่วนปลาย ซึ่งก็ถือเป็นมาตราฐานทั่วไปสำหรับยีนส์ในยุคสมัยนี้ไปซะแล้ว



ท้ายสุดสำหรับเรื่องการสวมใส่ผมบอกได้เลยถ้าไม่มีประสบการณ์สำหรับยีนส์ผ้าหนาช่วงแรกอาจรู้สึกไม่สบายครับ แต่ถ้าใส่ไปไม่เกิน 2อาทิตย์อาการความกระด้างจะหายไปเยอะมากๆ แล้วถ้ายิ่งใส่ไปตัวผ้าจะนุ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสำหรับไซส์ผมขอบอกตรงๆว่าแนะนำว่าให้ใส่ใจสักนิดแล้วหาเวลาว่างเข้ามาลองที่ร้านครับ การลองใส่ทำให้เราได้ยีนส์ที่ตรงกับความต้องการที่สุดแล้วจะคุ้มค่ากับเงินตราที่เสียไป ครับ

THE FLAT HEAD

ออกจากโรงแรม10โมงเช้าครับวันนี้ เราได้รับการต้อนรับจาก3ท่าน คือจากFLATHEADโดยหนึ่งในนั้นชื่อKyleซึ่งเป็นชาวอเมริกัน บ้านอยู่Texasและมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยูญี่ปุ่นได้สองปีแล้ว Kyleบอกว่าเดิมชอบยีนส์มานานมากแล้ว เริ่มใส่ที่Nudieเป็นผ้าดิบตัวแรก และได้ศึกษาและเล่นบอร์ดมาตลอด เขาลองสมัครงานมาที่FLATHEADก่อนจบงานเดิมประมาณ3เดือน เขาทั้งตกใจและมีความสุขมากที่ทางFLATHEADตกลงรับเขา ช่วงเวลานี้ในทุกเช้าเขาจะพักอยู่ประมาณ5นาที โดยการเดินจากศูนย์FLATHEADในNaganoครับ เขาดีใจมากเช่นกันที่ได้มาเยี่ยมชมโรงงาน และเป็นครั้งแรกของเขาเช่นกันในOkayama
fh02


อีกท่านนึงเป็นลูกเจ้าของโรงงานที่FLATHEADทำงานด้วยครับ แต่งตัวเต็มยศFLATHEADเลยครับ และเขาเองก็มีแผนที่อยากจะทำงานร่วมกันกับFLATHEADในอีกระดับนึงซึ่งเราไม่สามารถเปิดเผยได้ ดูจากรถเขาและรสนิยมน่าจะคุยกับคุณKobayashiถูกปากอยู่


โรงงานนี้ก่อตั้งมากว่า25ปีแล้วครับและเป็นโรงงานแรกๆที่ทำยีนส์ตั้งแต่สมัยยีนส์Reproกำเนิด ปัจจุบันเย็บให้แบรนด์อื่นๆที่มีชื่อเสียงอยู่บ้างครับ แต่เขาแจ้งว่าความต้องการในคุณภาพของFLATHEADจะอยู่สูงกว่าและเป็นแบรนด์ที่ขั้นตอนการผลิตยุ่งยากที่สุด แต่จำนวนที่ผลิตก็เป็นอันดับหนึ่งในโรงงานเขา ในญี่ปุ่นFLATHEADจะอยู่”อันดับหนึ่ง”ครับจากที่ผมถามหลายๆร้านค้าที่เราได้ชมในโตเกียว



โดยที่ศูนย์ของโรงนี้จะเป็นการเย็บตัวอย่างก่อนส่งไปให้ทางแบรนด์ผ่านแล้วจึงจ่ายงานไปผลิตจริงตามโรงเล็กๆหรือเรียกว่าตามบ้านน่าจะเหมาะกว่าครับ


ออกจากศูนย์เรามุ่งหน้าตรงไปยังโรงตัดผ้าก่อนเลยครับ คุณลุงบอกว่าบ้านหลังนี้ถูกสร้างมากว่าร้อยปีแล้ว โดยช่วง50กว่าปีก่อนหน้านี้ ได้ขยายส่วนที่เป็นอาคารนี้และเริ่มต้นทำงาน เราจะเห็นว่าการทำงานที่โรงงานFLATHEADจะใช้เป็นตามบ้านมากกว่าซึ่งจะอยู่ในซอย บนเขา ในหลืบ เรียกได้ว่าถ้าไม่รู้จักดีก็ไม่มีทางหาพบครับ อาคารที่ทำงานจะอยู่ติดกับตัวบ้าน และเจ้าของบ้านก็เย็บกันเองสามี-ภรรยา ไม่ได้มีใครมาช่วย หรือจ้างลูกน้องเพิ่ม ขยายให้ใหญ่โต ดูแล้วพอเพียงมีความสุขดี



คุณลุงใช้มือในการทำทุกอย่างเองครับ การตัดผ้าแต่ละครั้งจะตัดที22ชิ้นโดยคุณลุงบอกว่าไม่ได้ตั้งจำนวนใว้เท่านี้แต่นี้เป็นปริมาณที่พอดี เพราะถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่าจะรู้สึกว่างานออกมาไม่ดีเท่าที่ควรและควบคุมเครื่องยาก ลุงลองให้เราตัดกันดูจากเศษผ้าและเห็นได้เลยครับว่าไม่ง่ายเลยถ้าจะตัดให้ตรงและเรียบ และเสี่ยงอันตรายกับมือมากๆ ส่วนตัวผมปฏิเสธข้อเสนอนี้ไป และขอเป็นช่างภาพแทน




โรงงานนี้ก็มีหน้าที่นี้เท่านั้นครับ ตัดผ้าตามแบบออเดอร์และส่งไปให้ที่ต่อไป เราจะเห็นpatternของทรงต่างๆแขวนอยู่บนผนัง มีทรงของที่ร้านPRONTOอยู่ด้วย! รู้สึกแปลกครับ ยีนส์เราอยู่หน้าร้านมีให้เลือกครบแต่ไม่เคยคิดเลยว่าจะเคยเริ่มมาจากผ้าที่ตัดอยู่ที่บ้านหลังนี้ เสร็จแล้ว กล่วคำอำลาและก็เดินทางกนไปโรงต่อไป



โรงที่สองนี้เราพบกับคุณป้านี้ท่านเดียว จะเห็นได้ว่างานที่นี่มีหน้าที่เย็บลายกระเป๋า ตอกหมุดเข้ากระเป๋าหลังและเย็บติดกระเป๋าหลังเท่านั้น



การเย็บลายกระเป๋าคุณป้าจะเย็บด้วยมือเลยครับ ไม่ได้ใช้เครื่องปักที่เย็บทีเป็นแผงเสร็จ



ในการเดินตะเข็บกระเป๋าคุณป้าจะเย็บรวดเดียวเลย คือเริ่มจากมุมนึงเย็บวนลงไป ขึ้นไปอีกฝั่งแล้วอ้อมหมุดลงมาไปพบกับจุดแรกที่เย็บ เป็นการเย็บที่เซียนมากครับ และเป็นการเดินเข็มที่เป็นเอกลักษณ์ของFLATHEADที่หลายๆคนชื่นชอบ และหน้าที่ของโรงนี้ก็จะมีเท่านี้ เรียกได้ว่าหนึ่งโรงงานหนึ่งหน้าที่เลย เป็นปรกติของญี่ปุ่นจริงๆที่เลือกที่จะทำอะไรหนึ่งอย่างแล้วทำให้เป็นที่หนึ่ง บางร้านอาหารเข้าไปเราจะเห็นเลยว่าทำอาหารอยู่ประเภทเดียว หรือเมนูเดียว แต่ร้านอย่างนี้ดูแล้วรับรองได้ว่าอร่อยชัวร์แน่นอนครับ





เสร็จจากที่นี้แวะไปทานมื้อเที่ยงกันก่อน



เมนูนี้ปรกติไม่ค่อยปลื้มเท่าไหร่ครับ อูด้ง ถ้าเป็นราเมนน่าจะโอเคกว่านั่นคือสิ่งแรกที่คิดแต่ในKurashikiเมืองที่เราอยู่ตอนนั้นขึ้นชื่อในเมนูอูด้งครับ ชิมเข้าไปแล้วถึงกับเปลี่ยนใจมาชอบเลย คนญี่ปุ่นทานเร็วมาก เป็นเรื่องปรกติที่ทุกคนรวบตะเกียบแล้วผมยังไปไม่ถึงครึ่งทาง ร้านนี้นั่งแบบพับเพียบด้วยครับ ทานเสร็จต้องขอยืดขาให้เลือดเดินอีกสักครู่ถึงจะค่อยไปต่อได้



เสร็จแล้วก็ลุยกันต่อครับ โดยที่ต่อไปจะเป็นโรงเย็บประกอบยีนส์ครับ ทำงานกันอยู่สองท่านลุงกับป้าสามีภรรยา โดยลุงมีหน้าที่เย็บแถบเอวเข้ากับกางเกง ป้าจะเย็บตะเข็บบนของเอวโดยมีความเป็นเอกลักษณ์ที่การเดินเย็บจะเป็นการเย็บตะเข็บเดียวยาวๆอีกเช่นกัน



ข้างๆมือคุณป้าจะมีหูเข็มขัดและป้ายหนังอยู่ พอเย็บถึงจุดป้าก็จะวางหูเข็มขัดแล้วเย็บติดกับยีนส์ไปเลย ไม่มีการสะดุดหรือข้าม และก็ไม่มีการแต้มจุดใว้ เรียกว่าต้องทำงานอย่างมีสติมากๆ พอไปถึงจุดที่จะวางป้ายหนัง ป้าก็จะเย็บป้ายหนังโดยรอบเป็นตะเข็บเดียวซึ่งนั่นหมายถึงต้องบิดผ้ากางกงให้วนเป็นรอบ ใช้แรงเยอะมากๆครับและความแม่นยำ เสร็จแล้ววางหูเข็มขัดต่อและมาจบฝั่งปลายแถบเอวอีกข้าง นี่ก็เป็นอีกรายละเอียดที่หลายๆท่านอาจจะมองข้ามแต่ทางแบรนด์ใส่ใจมาก



เราคิดดูแล้ว มันจะช่างง่ายมากถ้าเขามีโรงงานใหญ่ๆสักอัน เอาช่างทั่วไปมาเย็บ เสร็จดโต๊ะนึงส่งต่อไปอีกโต๊ะ คนนึงก็เย็บหูอย่างเดียว คนนึงเย็บป้ายหนังอย่างเดียว ทำที่เดียวเสร็จ ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาขนส่งจากบ้านหนึ่งไปอีกบ้าน แต่ไม่ครับ นี่คือรายละเอียด และมันเป็นสิ่งที่ทางแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจะใส่มันลงไป แล้วคนที่ใส่ใจถึงจะสังเกตเห็นครับ



เสร็จจากหลังนี้แล้วก็ไปยังที่สุดท้ายที่จบงานครับ



จะเป็นที่ๆเย็บปลายขาเข้าด้วยจักรลูกโซ่ และต้องตอกกระดุมตอกหมุด ทั้งกางเกงและเสื้อยีนส์ครับ โดยจะต้องตอกหลังจากที่จบแล้วเท่านั้น นั่นคือถ้าเป็นพวกone washก็ต้องผ่านขั้นตอนเหล่านั้นมาจนเสร็จถึงจะตอกได้ ป้องกันการชำรุดครับและกันสนิมด้วย ส่วนการติดกระดาษพับที่กระเป๋าหลัง จะทำหลังเช็คคุณภาพอีกครั้งเท่านั้นครับ